ตะกร้าของฉัน
กรุณาเลือกองค์กรก่อนจ่ายซะกาต คลิกที่นี่เพื่อเลือกองค์กรค่ะ
ไม่มีรายการในตะกร้า
รวม:0.00 บาท
ตะกร้าของฉัน
เข้าร่วมโครงการสัมมนา “นักธุรกิจรุ่นใหม่บนเส้นทางเศรษฐกิจฮาลาล
สัลมาน สะนิ
11 ต.ค. (1 เดือนที่แล้ว)
บริษัท ซะกาต(ไทยแลนด์) จำกัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
ทีมงาน Zakat Thailand ได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นักธุรกิจรุ่นใหม่บนเส้นทางเศรษฐกิจฮาลาล ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร วันเสาร์ ที่ 14 กันยายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี และได้สรุป 36 บทเรียน ดังนี้
"การเงินและธุรกิจฮาลาลสำหรับผู้ประกอบการ" โดย ดร.ศิดดิก ลาลีวัน รองผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด
1. หลักการดําเนินงานธุรกิจในรูปแบบอิสลาม เช่น หามเกี่ยวของดอกเบี้ย (Riba) หามการทําธุรกรรมที่ขาดความโปรงใส (Gharar) หามการพนัน (Maisir) หามธุรกิจท่ีขัดตอหลักศาสนาอิสลาม
2. “สูเจ้าจงมีส่วนร่วมในธุรกิจเพราะเก้าจากสิบส่วนของแหล่งรายได้มาจากกิจกรรมทางธุรกิจ” หะดีษมุรสัล
3. ดำเนินธุรกิจอิสลามเป้าหมายไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด แต่เพื่อกำไรที่สามารถเติบโตและดูแลสังคมด้วยซะกาตและบริจาค
4. ความยั่งยืนของธุรกิจ ขึ้นกับความยั่งยืนในการส่งมอบคุณค่าได้อย่างต่อเนื่อง
5. อย่ารีบลงทุนดำเนินธุรกิจ แต่ต้องเริ่มด้วยการทดสอบตลาดก่อน แล้วค่อยๆดำเนินการตามความต้องการของตลาดและขยายธุรกิจ
“เมื่อต้องเปลี่ยนจากเถ้าแก่ มาสร้างองค์กรธุรกิจสมัยใหม่” โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ ผู้จัดการธุรกิจร้านอาหารดีฟอร์เรส
1. เริ่มต้นธุรกิจด้วยการสร้างแบรนด์ การสร้างตัวตนที่สร้างความเชื่อมั่นสู่การสร้างการจดจำที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ซึ่งการสร้างการจดจำนั้นต้องมีเรื่องเล่า ภาพจำ และ การเชื่อมโยงกับแบรนด์ ผ่านคุณค่าด้านประสบการณ์ของการใช้สินค้าและบริการ สัญลักษณ์แบรนด์ เช่น ชื่อแบรนด์ โลโก้ โทนสี ตัวอักษร ภาพสินค้าและบริการ ชื่อเสียงของแบรนด์ในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ และการใส่ใจผลประโยชน์ของลูกค้าในระยะยาว
2. ขยายธุรกิจด้วยการบริหารแบบองค์กร ธุรกิจที่ดำเนินการด้วยระบบธุรกิจที่มีทีมบริหารและทีมงานฝ่ายต่างๆ โดยที่เจ้าของธุรกิจเฝ้าดูการเติบโตของธุรกิจ
“ขายออนไลน์ ไม่ไลฟ์สด ไม่โพสต์ขายเอง สู่ยอดขายหลายร้อยล้าน” โดยนายไฟซอล เจ๊ะอูมา ผู้จัดการบริษัทไฉไลอินเตอร์เทรด
1. การตลาดออนไลน์ ต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ การสร้างแบรนด์ การทำคอนเทนต์ และ การวัดผล
2. การสร้างแบรนด์ ต้องมีอย่างน้อย 2 ใน 3 สิ่งนี้ คือ การสร้างตัวตนของแบรนด์ (CEO & Personal Branding) การนำเสนอสินค้าและบริการ และนำเสนอร้านค้า (Distribution) เช่น แบรนด์หมึกกรุบ
3. ทีมการตลาดออนไลน์ ต้องประกอบด้วย 3 ทีม คือ ทีมนักการตลาดออนไลน์ ทีมทำคอนเทนต์ และทีมนักการตลาดเชิงประสิทธิภาพ
4. คอนเทนต์ต้องมีความบันเทิง สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และนำเสนอสินค้าและบริการ
5. การตลาดเชิงประสิทธิภาพ เช่น Display ads, Native ads, SEM, Social Media Marketing และ Affiliate Marketing (การตลาดแบบนายหน้าในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Lazada, Shopee และ Tiktok) เปลี่ยนจากลูกค้าเป็นนายหน้าด้วยการสอนทำคลิปหรือไลฟ์ให้ลูกค้า เมื่อคลิปไวรัล ยอดขายพุ่งกระฉูด
6. บริหารภาษีให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ บวกภาษีในต้นทุนหลักของธุรกิจ
“ธุรกิจ community Mall” โดยนายอิมรอน เส็นหลีหมีน (Yala Park)
1. เลือกแบรนด์ที่มั่นคง มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ Café Amazon เพื่อเปิดสาขา Stand alone และทางแบรนด์ดูแลใส่ใจในช่วงโควิด
2. คนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก คือ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คู่สัญญากับภาครัฐ
3. ทางลัดในการทำธุรกิจ คือ ศึกษาจากผู้รู้ (ผู้ที่ประสบความสำเร็จ) และ เลือกแบรนด์ที่มั่นคง
4. การขยายธุรกิจจากการลงทุน (เงินต่อเงิน) และ connection
5. กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง ซ้าย ขวา หน้า หรือถอยก่อน แล้วค่อยเดินหน้าต่อ
“ธุรกิจส่งออก” โดยนางสาวนูรีมา แวมายิ ธุรกิจทุเรียนแปรรูปและธุรกิจส่งออก
1. เป้าหมายชัดเจน คือ สินค้าจากโรงงานสู่ตลาดโรงแรมและห้าง
2. เมื่อเป้าหมายชัดเจนแล้ว วิธีการที่จะถึงเป้าหมายคือ สร้างโรงงานที่ผ่านมาตรฐาน ปรับปรุงให้ผ่านมาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการ
3. สินค้าและแพ็กเกจต้องสวย
4. กล้าเสนอสินค้า(หรือบริการ)เพื่อให้ลูกค้าวิพากษ์วิจารณ์ แล้วปรับปรุงสินค้า(หรือบริการ)ให้ดีขึ้น
5. การผลิตแบบใหม่ นำเทคโนโลยีมาใช้ และมีทีมที่ดี ทั้งทีมงานภายใน และ ทีมตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ
6. ผลิตตามความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายของลูกค้า
7. รักษาความสัมพันธ์กับแหล่งวัตถุดิบ เก็บวัตถุดิบ และ วางแผนก่อนล่วงหน้าทุกกิจกรรม
8. จริงใจต่อลูกค้า และสื่อสารกับลูกค้า ถึงปัญหาที่ประสบเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
9. หากลุ่มตลาดใหม่กับคุณค่าใหม่และสูงกว่า ที่แตกต่างจากตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูง
10. ไม่ใช่รู้เขา รู้เรา แต่เป็น “รู้เขา เขาไม่รู้เรา” เมื่อเขารู้ เราไปไกลแล้ว
11. คว้าทุกโอกาสที่เข้ามา แม้มีข้อจำกัดบางอย่าง
12. Positive Thinking ทุกวิกฤติ มีโอกาสเสมอ โอกาสที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
13. เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ ก็เดินออกจากปัญหา ไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลาย แล้วค่อยมาแก้ปัญหาอีกครั้ง
“ธุรกิจท่องเที่ยว” โดยนพ.มัซลัน ตะเร๊ะ (บอมอกีตอ, เลหลงโย๊ะ แคมปิ้ง)
1. ใช้เวลาถึง 12 ปี ในการพัฒนาพื้นที่ด้วย 3 กลไก คือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ด้วยการส่งโครงการต่างๆ การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น Sky walk ฯลฯ และการส่งออก
2. ทำธุรกิจที่หลากหลายและที่สร้างทรัพย์สินที่รับผลตอบแทนในระยะยาว เช่น รีสอร์ท ที่ดิน เป็นต้น
3. สูตรธุรกิจท่องเที่ยว ต้องมี 5 อย่าง ดังนี้ 1. Pleasure สบาย สนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความสุข 2. มีกิจกรรม (ยิ่งยืดเวลา ยิ่งเพิ่มรายได้) 3. ดึงดูด สามารถทำคอนเทนต์ได้ (ปากต่อปาก) 4. ซื้อของกินของใช้ได้ 5.มีเรื่องเล่าที่น่าประทับใจ
4. ต้นทุนที่สำคัญมากกว่าเงิน คือ 1. คุณค่าที่ให้ลูกค้า 2. ใช้สมองให้มาก 3. ใช้ใจ 4. ดุอาอฺต่อเนื่อง 5. มอบหมายต่ออัลลอฮฺ 6. ลงทุนกับอัลลอฮฺ (บริจาคหรือวากัฟ) เพราะจะได้คืนจากพระองค์อย่างน้อย 700 เท่า 7. สอนผู้อื่น แล้วอัลลอฮฺจะสอนมากกว่าที่เรารู้
5. สร้างระบบธุรกิจ และจัดการเฉพาะปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองเท่านั้น (ปัญหาเล็กๆ จ้างคนอื่นมาแก้ปัญหา) เพื่อจะได้มีเวลาวิเคราะห์ ขยายธุรกิจ หรือ เปิดธุรกิจใหม่
"การเงินและธุรกิจฮาลาลสำหรับผู้ประกอบการ" โดย ดร.ศิดดิก ลาลีวัน รองผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด
1. หลักการดําเนินงานธุรกิจในรูปแบบอิสลาม เช่น หามเกี่ยวของดอกเบี้ย (Riba) หามการทําธุรกรรมที่ขาดความโปรงใส (Gharar) หามการพนัน (Maisir) หามธุรกิจท่ีขัดตอหลักศาสนาอิสลาม
2. “สูเจ้าจงมีส่วนร่วมในธุรกิจเพราะเก้าจากสิบส่วนของแหล่งรายได้มาจากกิจกรรมทางธุรกิจ” หะดีษมุรสัล
3. ดำเนินธุรกิจอิสลามเป้าหมายไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด แต่เพื่อกำไรที่สามารถเติบโตและดูแลสังคมด้วยซะกาตและบริจาค
4. ความยั่งยืนของธุรกิจ ขึ้นกับความยั่งยืนในการส่งมอบคุณค่าได้อย่างต่อเนื่อง
5. อย่ารีบลงทุนดำเนินธุรกิจ แต่ต้องเริ่มด้วยการทดสอบตลาดก่อน แล้วค่อยๆดำเนินการตามความต้องการของตลาดและขยายธุรกิจ
“เมื่อต้องเปลี่ยนจากเถ้าแก่ มาสร้างองค์กรธุรกิจสมัยใหม่” โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ ผู้จัดการธุรกิจร้านอาหารดีฟอร์เรส
1. เริ่มต้นธุรกิจด้วยการสร้างแบรนด์ การสร้างตัวตนที่สร้างความเชื่อมั่นสู่การสร้างการจดจำที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ซึ่งการสร้างการจดจำนั้นต้องมีเรื่องเล่า ภาพจำ และ การเชื่อมโยงกับแบรนด์ ผ่านคุณค่าด้านประสบการณ์ของการใช้สินค้าและบริการ สัญลักษณ์แบรนด์ เช่น ชื่อแบรนด์ โลโก้ โทนสี ตัวอักษร ภาพสินค้าและบริการ ชื่อเสียงของแบรนด์ในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ และการใส่ใจผลประโยชน์ของลูกค้าในระยะยาว
2. ขยายธุรกิจด้วยการบริหารแบบองค์กร ธุรกิจที่ดำเนินการด้วยระบบธุรกิจที่มีทีมบริหารและทีมงานฝ่ายต่างๆ โดยที่เจ้าของธุรกิจเฝ้าดูการเติบโตของธุรกิจ
“ขายออนไลน์ ไม่ไลฟ์สด ไม่โพสต์ขายเอง สู่ยอดขายหลายร้อยล้าน” โดยนายไฟซอล เจ๊ะอูมา ผู้จัดการบริษัทไฉไลอินเตอร์เทรด
1. การตลาดออนไลน์ ต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ การสร้างแบรนด์ การทำคอนเทนต์ และ การวัดผล
2. การสร้างแบรนด์ ต้องมีอย่างน้อย 2 ใน 3 สิ่งนี้ คือ การสร้างตัวตนของแบรนด์ (CEO & Personal Branding) การนำเสนอสินค้าและบริการ และนำเสนอร้านค้า (Distribution) เช่น แบรนด์หมึกกรุบ
3. ทีมการตลาดออนไลน์ ต้องประกอบด้วย 3 ทีม คือ ทีมนักการตลาดออนไลน์ ทีมทำคอนเทนต์ และทีมนักการตลาดเชิงประสิทธิภาพ
4. คอนเทนต์ต้องมีความบันเทิง สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และนำเสนอสินค้าและบริการ
5. การตลาดเชิงประสิทธิภาพ เช่น Display ads, Native ads, SEM, Social Media Marketing และ Affiliate Marketing (การตลาดแบบนายหน้าในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Lazada, Shopee และ Tiktok) เปลี่ยนจากลูกค้าเป็นนายหน้าด้วยการสอนทำคลิปหรือไลฟ์ให้ลูกค้า เมื่อคลิปไวรัล ยอดขายพุ่งกระฉูด
6. บริหารภาษีให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ บวกภาษีในต้นทุนหลักของธุรกิจ
“ธุรกิจ community Mall” โดยนายอิมรอน เส็นหลีหมีน (Yala Park)
1. เลือกแบรนด์ที่มั่นคง มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ Café Amazon เพื่อเปิดสาขา Stand alone และทางแบรนด์ดูแลใส่ใจในช่วงโควิด
2. คนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก คือ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คู่สัญญากับภาครัฐ
3. ทางลัดในการทำธุรกิจ คือ ศึกษาจากผู้รู้ (ผู้ที่ประสบความสำเร็จ) และ เลือกแบรนด์ที่มั่นคง
4. การขยายธุรกิจจากการลงทุน (เงินต่อเงิน) และ connection
5. กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง ซ้าย ขวา หน้า หรือถอยก่อน แล้วค่อยเดินหน้าต่อ
“ธุรกิจส่งออก” โดยนางสาวนูรีมา แวมายิ ธุรกิจทุเรียนแปรรูปและธุรกิจส่งออก
1. เป้าหมายชัดเจน คือ สินค้าจากโรงงานสู่ตลาดโรงแรมและห้าง
2. เมื่อเป้าหมายชัดเจนแล้ว วิธีการที่จะถึงเป้าหมายคือ สร้างโรงงานที่ผ่านมาตรฐาน ปรับปรุงให้ผ่านมาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการ
3. สินค้าและแพ็กเกจต้องสวย
4. กล้าเสนอสินค้า(หรือบริการ)เพื่อให้ลูกค้าวิพากษ์วิจารณ์ แล้วปรับปรุงสินค้า(หรือบริการ)ให้ดีขึ้น
5. การผลิตแบบใหม่ นำเทคโนโลยีมาใช้ และมีทีมที่ดี ทั้งทีมงานภายใน และ ทีมตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ
6. ผลิตตามความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายของลูกค้า
7. รักษาความสัมพันธ์กับแหล่งวัตถุดิบ เก็บวัตถุดิบ และ วางแผนก่อนล่วงหน้าทุกกิจกรรม
8. จริงใจต่อลูกค้า และสื่อสารกับลูกค้า ถึงปัญหาที่ประสบเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
9. หากลุ่มตลาดใหม่กับคุณค่าใหม่และสูงกว่า ที่แตกต่างจากตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูง
10. ไม่ใช่รู้เขา รู้เรา แต่เป็น “รู้เขา เขาไม่รู้เรา” เมื่อเขารู้ เราไปไกลแล้ว
11. คว้าทุกโอกาสที่เข้ามา แม้มีข้อจำกัดบางอย่าง
12. Positive Thinking ทุกวิกฤติ มีโอกาสเสมอ โอกาสที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
13. เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ ก็เดินออกจากปัญหา ไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลาย แล้วค่อยมาแก้ปัญหาอีกครั้ง
“ธุรกิจท่องเที่ยว” โดยนพ.มัซลัน ตะเร๊ะ (บอมอกีตอ, เลหลงโย๊ะ แคมปิ้ง)
1. ใช้เวลาถึง 12 ปี ในการพัฒนาพื้นที่ด้วย 3 กลไก คือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ด้วยการส่งโครงการต่างๆ การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น Sky walk ฯลฯ และการส่งออก
2. ทำธุรกิจที่หลากหลายและที่สร้างทรัพย์สินที่รับผลตอบแทนในระยะยาว เช่น รีสอร์ท ที่ดิน เป็นต้น
3. สูตรธุรกิจท่องเที่ยว ต้องมี 5 อย่าง ดังนี้ 1. Pleasure สบาย สนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความสุข 2. มีกิจกรรม (ยิ่งยืดเวลา ยิ่งเพิ่มรายได้) 3. ดึงดูด สามารถทำคอนเทนต์ได้ (ปากต่อปาก) 4. ซื้อของกินของใช้ได้ 5.มีเรื่องเล่าที่น่าประทับใจ
4. ต้นทุนที่สำคัญมากกว่าเงิน คือ 1. คุณค่าที่ให้ลูกค้า 2. ใช้สมองให้มาก 3. ใช้ใจ 4. ดุอาอฺต่อเนื่อง 5. มอบหมายต่ออัลลอฮฺ 6. ลงทุนกับอัลลอฮฺ (บริจาคหรือวากัฟ) เพราะจะได้คืนจากพระองค์อย่างน้อย 700 เท่า 7. สอนผู้อื่น แล้วอัลลอฮฺจะสอนมากกว่าที่เรารู้
5. สร้างระบบธุรกิจ และจัดการเฉพาะปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองเท่านั้น (ปัญหาเล็กๆ จ้างคนอื่นมาแก้ปัญหา) เพื่อจะได้มีเวลาวิเคราะห์ ขยายธุรกิจ หรือ เปิดธุรกิจใหม่
Gallery
Sidebar
ตัวอย่างผลงาน
ลงพื้นที่คัดกรองผู้มีสิทธิรับซะกาต 3 ครอบครัว
โดย สัลมาน สะนิ
โครงการมอบทุนการศึกษา มูลนิธิอัลฮูดาเพื่อสังคม 2567 ครั้งที่ 4
โดย มูลนิธิอัลฮูดาเพื่อสังคม